"บุก" พืชสุดเจ๋งแก้ปัญหาท้องผูก

899 จำนวนผู้เข้าชม  | 

excretion

       คนที่ท้องผูกมีปัญหาในการขับถ่าย

       ท้องผูก คือ อาการที่ลำไส้มีการบีบตัวหรือเคลื่อนตัวช้า ไม่สามารถกำจัดอุจจาระออกจากทางเดินอาหารได้ตามปกติ เกิดการตกค้างในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานาน เมื่อร่างกายมีการดูดน้ำในอุจจาระกลับ ทำให้อุจจาระมีลักษณะแห้ง แข็ง และมีขนาดใหญ่ ส่งผลให้ขับถ่ายได้ลำบาก  สาเหตุของการเกิดโรคก็มีหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งเรื่องของโรคประจำตัว หรือการใช้ยาบางชนิด ก็ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้เช่นกัน 

       แบบไหนกันแน่ที่เรียกว่า ท้องผูก
       หลายคนอาจเคยได้ยินมาว่าท้องผูกหมายถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่จริงๆ แล้วอาการท้องผูกไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งหรือความสม่ำเสมอในการขับถ่าย ตราบใดที่คุณสามารถถ่ายได้อย่างสบายๆ ไร้กังวล ไม่ต้องเบ่ง อุจจาระนิ่มจับตัวเป็นก้อนดี แม้ 2-3 วันจะถ่ายสักครั้งก็ไม่ถือว่าผิดปกติ แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกว่าการขับถ่ายเป็นเรื่องยาก หลายครั้งต้องนั่งนานถึงครึ่งชั่วโมงเพื่อเบ่งถ่าย บางครั้งต้องใช้น้ำฉีด ใช้นิ้วล้วงช่วย ถ่ายไม่สุด เหมือนมีอะไรมาอุดกั้นอยู่ ถ่ายออกมาน้อย อุจจาระแข็งมีลักษณะเป็นเม็ด ผิวขรุขระหรือแห้งแตก รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ทั้งหมดนี้บ่งบอกว่าคุณมีอาการท้องผูกอย่างแน่นอน

       ท้องผูกบ่อยๆ ส่งผลอย่างไรบ้าง
       ท้องผูกส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจ หลายคนรู้สึกเครียด เบื่ออาหาร ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า ปวดหัว ปวดหลัง และแสบร้อนบริเวณหน้าอก ไม่เพียงเท่านั้นการออกแรงเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นประจำยังก่อให้เกิดผลร้ายตามมามากมาย เช่นทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือแผลปริรอบๆ ทวารหนักจากอุจจาระที่แห้งแข็งครูดหลอดเลือดจนฉีกขาด
         - ทำให้ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
         - ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดตาและหู
         - ทำให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อนได้
         - ทำให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
         - ท้องผูกเรื้อรังจนทำให้มีอาการของลำไส้อุดตัน ได้แก่ ปวดท้องมาก อึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ไม่ผายลม และไม่ถ่ายอุจจาระ

       5 สิ่งบั่นทอนสุขภาพระบบลำไส้ ทำท้องผูก...ขับถ่ายยาก

           1. การอั้นอุจจาระ
           2. รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
           3. ดื่มน้ำเปล่าน้อย ดื่มชา กาแฟเยอะ
           4. เคลื่อนไหวร่างกายน้อย (นั่งนาน)
           5. ความเครียดสะสม

       เมื่อผูกได้ก็แก้ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยวิธีธรรมชาติ

          - ฝึกร่างกายให้เข้าห้องน้ำเป็นเวลา และหากรู้สึกปวดท้องก็ควรขับถ่ายทันที
          - รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหาร (Fiber) ซึ่งพบได้ในผัก ผลไม้ รวมถึงธัญพืชชนิดต่างๆ
          - ดื่มน้ำสะอาดวันละ 2 ลิตร เพื่อกระตุ้นระบบขับถ่ายและช่วยลดปัญหาการขับถ่ายยาก
          - หลีกเลี่ยงการใช้ยาช่วยระบาย แต่ให้ฟื้นฟูร่างกายด้วยอาหารช่วยดีท็อกซ์

       ทำไมบุกถึงแก้ปัญหาท้องผูกได้

       บุก นับเป็นพืชสมุนไพรยอดนิยมสำหรับคนรักสุขภาพเลยก็ว่าได้ เพราะบุกมีสรรพคุณในการช่วยควบคุมน้ำหนัก และมีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพร่างกาย อีกทั้งยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ และอาหารประเภทต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ บุกไข่มุก ข้าวบุก วุ้นบุก  เป็นต้น บุกมีประโยชน์ช่วยป้องกันอาการท้องผูก สารกลูโคแมนแนนในบุก มีเส้นใยอาหารต่ำ ช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ในอุจจาระ ช่วยปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันอาการท้องผูกและรักษาริดสีดวงทวาร อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย บำรุงสุขภาพดวงตา ป้องกันความดันโลหิต บำรุงสุขภาพช่องปาก  ช่วยลดน้ำหนักได้เพราะในเนื้อแป้งที่ได้จาก หัวบุก มีสารกลูโคแมนแนน จะช่วยดูดซึมน้ำในกระเพาะอาหาร แล้วพองตัว ทำให้รู้สึกอิ่มได้เร็ว ถึงแม้ว่าบุก จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายมากเพียงใด ก่อนการใช้ผลิตภัณฑ์หรืออาหารที่มีบุกเป็นส่วนประกอบ คุณควรศึกษารายละเอียดและข้อควรระวังในการใช้หรือรับประทาน และที่สำคัญ ควรรับประทานแต่พอดี เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ

       จะเห็นได้ว่า การรักษาอาการท้องผูกนั้น สามารถรักษาด้วยวิธีการทางธรรมชาติได้พร้อมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บทความนี้ M Health psv 2021 ขอนำเสนอทางเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากบุกแท้ นั้นก็คือ DETOX ผลิตภัณฑ์บุกเพื่อสุขภาพ ตรา ฟิต แอนด์ ฟัน ผสม อินนูลิน และอัลฟาฟ่า ในสารอาหารจาก บุก อินนูลิน อัลฟาฟ่าที่อยุ่ในผลิตภัณฑ์นี้ทั้งหมดช่วยเรื่องระบบขับถ่ายให้ดีขึ้น ไม่เพียงช่วยเรื่องระบบขับถ่ายเท่านั้น ยังช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม เพิ่มปริมาณ HDL ลดระดับปริมาณ LDL ลดระดับคอเรสเตอรอล เรียกได้ว่า "กินป้องกันโรค" 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : 

https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may-2019/constipation-treatment

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B8%81-%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%94/

https://www.cigna.co.th/health-wellness/tip/high-fiber-foods-to-ease-constipation

https://www.sanook.com/health/22533/

https://www.bth.co.th/th/news-health-th/item/331-alfalfa.html

https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/585/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/


Powered by MakeWebEasy.com